เมนู

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
บุคคลที่กระทำการอกุศลนั้น ครั้นกระทำแล้วเดือนร้อนกินแหนงว่า อนิจจา ๆ บาปกรรมนี้
อาตมาจะกระทำเป็นกรรมอันลามกมิดี เหตุดังนี้ จึงว่ากระทำบาปกรรมไม่มีผลเจริญ เพราะ
ว่ากระทำแล้วและสอดแคล้วกินแหนงในใจ บุคคลที่ได้กระทำการกุศลไว้ มีแต่น้ำใจเลื่อมใส
ปราโมทย์ แล้วคิดไปมีใจปลื้มยินดีบังเกิดปีติโสมนัส แล้วมีกายระงับลงด้วยปีติโสมนัสนั้น
ครั้นกายระงับลงเป็นกายปัสสัทธิจิตตปัสสัทธิแล้ว ก็ได้เสวยสุข เมื่อสุขบังเกิดแล้ว ก็จะเป็น
สมาธิลง อานิสงส์จำเริญขึ้นด้วยเหตุฉะนี้ ต้องด้วยเยี่ยงอย่างประเพณีมีมาว่า บุรุษผู้หนึ่งมีเท้า
มีมืออันขาด ได้ถวายดอกอุบลชาติกำมือหนึ่ง แก่สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า ได้เสวยผลบุญที่
ได้ถวายดอกไม้กำมือหนึ่งนี้ไปหลายชาติหลายกัปนับนาน เอกนวุติกปฺเป ประมาณได้ 91
กัปด้วยผลกุศลอันวิเศษ เหตุฉะนี้ อาตมาจึงว่าบุญนี้มีกำลังมาก บาปกรรมนี้มีกำลังน้อย
ของถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาชาวสาคลนคร ทรงฟังก็สโมสรโสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ
สธุสะพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาสมควรยิ่งนักหนาในกาลบัดนี้
บาปปุญญพหุตรปัญหา คำรบ 9 จบเท่านี้

ชานอชานปัญหา ที่ 10


อถโข มิลินฺโข ราชา ภนฺเต นาคเสน ปุคฺคเล น ปาปํ วา อปาปํ วา ทุกฺขเวทนา อปายภูมึ
คจฺฉตีติ

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสน บุคคลผู้หนึ่งรู้ว่าบาปกรรมแล้วกระทำบาปกรรม บุคคลผู้หนึ่งไม่รู้ว่า
บาปกรรม มากระทำบาปกรรมนี้ คนทั้งสองนี้จะได้ทนทุกขเวทนา ข้างไหนจะได้เวทนามาก
กว่ากัน ข้างรู้บาปกรรมนี้จะให้ไปอบายรู้อยู่แล้วและกระทำนี้ จะได้ผลวิบากมากหรือ หรือว่าไม่
รู้บาปกรรมนี้จะให้ไปอบายและมาขวนขวายกระทำบาปกรรมนั้น ได้เสวยวิบากมา โยมยัง
สงสัย นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะมหาบพิตรผู้เป็นอิสราธิบดี คนที่ไม่รู้

บาปกรรมกระทำบาปกรรมนั้นได้เสวยทุกขเวทนามาก บุคคลที่รู้ว่าบาปกรรมกระทำบาปกรรม
นั้น ได้เสวยทุกขเวทนาน้อย ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้เจริญ ธรรมดาว่าราชบุรุษราชอำมาตย์ของโยมนี้ ที่ใครรู้แล้วว่ากระทำกรรม
อย่างนี้มีโทษกฎหมายห้าม ไม่เกรงขามขืนกระทำความชั่วเป็นบาปกรรมอันลามกมิดีนี้ ต้อง
ลงโทษเป็นทวีคูณ โยมนี้เข้าใจว่ารู้เองกระทำเองนี้ ได้เสวยทุกขเวทนา นะพระผู้เป็นเจ้า พระผู้
เป็นเจ้าว่ารู้เองทำเองข้างฝ่ายอกุศลได้สวยผลน้อยนี้ เป็นเหตุไฉน นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรตรัสถามดังนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า กึ มญฺญสิ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
พระราชสมภารสำคัญอย่างไร นี่แน่อาตมาจะวิสัชนาให้พระราชสมภารเจ้าฟัง ตตฺตํ อโยคุฬํ
เปรียบดุจบุรุษชายผู้หนึ่งรู้ว่าก้อนเหล็กแดงอันร้อน บุรุษชายนั้นจับก้อนเหล็กแดงนั้นเข้า บุรุษ
ผู้หนึ่งเล่าเถลือกถลน ไม่รู้ว่าก้อนเหล็กแดงนั้นร้อนรน ชายคนนั้นไปจับก้อนเหล็กแดงนั้นเข้า
ดูกรบพิตรพระราชสมภารเจ้า คนทั้งสองซึ่งจับก้อนเหล็กแดงเข้านั้นใครจะร้อนกว่ากัน นะบพิตร
พระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้านี้ฉลาด ชายที่ประมาทไม่ทันดูไม่รู้ จับเข้านั่นแหละร้อน
มาก นะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ฉันใด มหาราช ดูกรมหาบพิตรผู้ประเสริฐ บุคคลที่
ละเมิดไม่รู้จักว่าบาปกรรมกระทำอกุศลนั่นแหละได้บาปมากนัก เหมือนกันกับบุคคลไม่รู้จู่เข้าไป
จับเอาก้อนเหล็กแดงนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาชาวสาคลนคร ได้ทรงฟังก็สโมสรโสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ
พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาสมควร
ชานอชานปัญหา คำรบ 10 จบเท่านี้

อุตตรกุรุปัญหา ที่ 11


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ บุคคลไปสู่ชั้นฟ้าพรหมโลก และไปสู่อุตตรกุรุทวีปและทวีปอันอื่น
้ด้วยกายทั้งเป็นนั้น มีอยู่บ้างหรือว่าหามิได้
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูกรมหาบพิตร มีอยู่ บุคคลไปสู่พรหมโลก
ทั้งเป็น ไปสู่อุตตรกุรุทวีปไปสู่ทวีปอันอื่นทั้งเป็น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรตรัสว่า ไปอย่างไรได้ นะพระผู้เป็นเจ้า จงว่าให้โยม
เห็นด้วยก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
ดุจหนึ่งว่าบุคคลโจนขึ้นไปจากแผ่นดินได้คืบหนึ่งก็ดี ศอกหนึ่งก็ดี อย่างนี้มหาบพิตรรู้บ้างหรือ
ประการใดเล่า
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ โยมรู้อยู่ โยมนี้
เล่าว่าข้างการโดด โยมโดดได้ 8 ศอก พระเจ้ามิลินท์บอกดังนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า บพิตรโดดอย่างไรได้ 8 ศอก
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงบอกว่า โยมตั้งจิตตุบาทคิดว่า อาตมาจะโจนไปให้ถึงนั้น กายโยม
ก็เบาพร้อมด้วยจิตตุบาทโจนไปถึงที่สังเกตนั้นได้ นะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงพระพรว่า ฉันใดก็ดี ภิกษุอรหันต์อันมีฤทธิ์ จิตเป็นวสีชำนาญใน
ฌานที่จะอธิษฐานและเข้าฌานออกจาฌานนั้น คิดว่าจะเหาะไปให้ถึงที่นั้น กายท่านก็เบา
พร้อมเข้ากับจิตคิดเหาะไปโดยเวหาด้วยจิตจำเริญภาวนานั้น เหมือนกันกับบพิตรอันจำเริญ
ตั้งจิตว่าจะไปสู่นั้นแล้วโดดไปนั้น ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้
สมควรแล้ว
อุตตรกุรุปัญหา คำรบ 11 จบเท่านี้